Photo Sharing and Video Hosting at Photobucket

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 16


วันที่  28 กันยายน  2555

อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวิเคราะห์ เรื่อง Tablet 

หลักสำคัญและประโยชน์ของการให้คอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
  • เป็นการให้เครื่องมือเพื่อให้นักเรียนสร้างนิสัยเรียนรู้ด้วยตนเอง อันเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ต้นทุนต่ำสุด ดีกว่าไปจ่ายเงินอุดหนุนเรียนฟรี (เหมือนการช่วยคนจน ควรสอนหากินและให้เครื่องมือ ไม่ใช่ไปแจกอาหารเป็นครั้งๆ)
  • เป็นการสร้างรากฐานเตรียมเด็กไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิตอลอย่างทั่วถึงเท่าเทียม ทั้งในเมืองและชนบท ไม่ใช่ทำทีละนิด กระปริกระปรอย
  • ความน่าสนใจของเนื้อหาดิจิตอล จะช่วยเพิ่มนิสัยการรักการอ่านและการค้นคว้าเรียนรู้ของนักเรียนได้มาก
  • ไม่ต้องแบกหนังสือเรียนหนัก จนเด็กมือด้านหลังแอ่น
  • เป็นวิธีที่ถูกกว่าและแก้ปัญหาให้นักเรียนได้ใช้คอมพิวเตอร์ ได้ทั้งโรงเรียนและที่บ้าน
                 ผลกระทบของการให้คอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
  • ความไม่พร้อมด้านหลักสูตร บุคลากร และระบบ เนื่องจากการเรียนการสอนที่ผ่านมา ใช้หนังสือตำราเป็นหลัก พอเปลี่ยนมาเป็นการสอนผ่านแท็บเล็ต 
  • ความไม่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก



วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 15


วันที่  21  กันยายน  2555

      อาจารย์ตรวจความเรียบร้อยของ Blogger ของนักศึกษา แล้วชี้แนะว่าเราต้องมีแหล่งเรียนรู้จากที่ไหนบ้าง แล้วสรุปสาระการเรียนรู้จากที่เราได้ทำ Blog ว่าเราได้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาไปแก้ไข Blog ให้เรียบร้อยคะ
     
       กระบวนการทำงาน  สามารถสรุปได้ดังนี้
- ตั้งวัตถุประสงค์ขึ้นมาก่อน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น การเข้าไปที่สื่อการเรียนรู้โทรทัศน์ครู
- จากนั้นนำมาวิเคราะห์
- แล้วนำมาปฏิบัติ
      วิธีการเรียนรู้ จากที่เราได้เรียนและปฏิบัติมาสามารถสรุปได้ดังนี้
- การสร้างสื่อ, การผลิตสื่อ จากนั้นมีการวางแผน เช่น การทำปฏิทินภาษาสำหรับเด็ก
- การนำมาประยุกต์ใช้
- วิธีการร้องเพลง  เช่น การนำทำนองเพลงของเพลงอื่นมาใส่เป็นทำนองเพลงที่เราแต่งขึ้นมาเอง
- การเล่านิทาน เช่น นิทานเล่าไปวาดไป นิทานเล่าไปฉีดไป และนิทานเล่าไปพับไป เป็นต้น
- การได้ลงมือปฏิบัติจริง เช่น การไปสัมภาษณ์เด็กที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
       ทักษะในการดำเนินชีวิต
 - ต้องมีประสบการณ์
 - ความชำนาญ
 - การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่เราทำ Blogspot



วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 14


วันที่  14  กันยายน 2555

กลุ่มของดิฉันออกมาเล่านิทาน เล่าไปฉีกไป นิทานเรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์คะ





          อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้ร้องเพลง ออกมาร้องเพลงให้ครบ โดยเริ่มจาก
กลุ่มที่ 1 เพลงแปรงฟันกันเถอะ
กลุ่มที่ 2 เพลงเชิญมาเล่น
กลุ่มที่ 3 เพลงท้องฟ้าแสนงาม
กลุ่มที่ 4 เพลงเดิน เดิน เดิน
กลุ่มที่ 5 เพลงเด็มจอมพลัง
       
ต่อมาเป็นการเล่านิทานโดยใช้เทคนิคดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่องช้างมีน้ำใจ (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 2 เรื่องเจ้าแสนซน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 3 เรื่องกระต่ายน้อยเพื่อนเกลอ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 4 เรื่องโจรใจร้าย (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 5 เรื่องเจ้าแกละกับดวงอาทิตย์ (เล่าไปฉีกไป)เป็นกลุ่มของดิฉัน
กลุ่มที่ 6 เรื่องกบน้อยแสนซน (เล่าไปฉีกไป)
กลุ่มที่ 7 เรื่องเจ้างูน้อยกับเถาวัลล์ (เล่าโดยใช้เชือก)
กลุ่มที่ 8 เรื่องต้นไม้ของเรา (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 9 เรื่องวันหยุดของน้องเบส (เล่าไปตัดไป)
กลุ่มที่ 10 เรื่องดาวเคราะห์ของคุณยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 11 เรื่องครอบครัวเศรษฐกิจพอเพียง (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 12 เรื่องตุ้งแช่จอมชน (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 13 เรื่องน้องมดอยากไปเที่ยวทะเล (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 14 เรื่องแพวิเศษ (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 15 เรื่องความสุขคุณยาย (เล่าไปวาดไป)
กลุ่มที่ 16 เรื่องยักษ์ 2 ตน (เล่าไปพับไป)
กลุ่มที่ 17 เรื่องพระจันทร์ไม่มีเพื่อน (เล่าไปตัดไป)
กลุ่มที่ 18 เรื่องพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง (เล่าไปวาดไป)

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน


ประโยชน์ของการเล่านิทาน
         นิทานช่วยเสริมปัญญาเด็กนิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต
นิทานช่วยให้เด็กเป็นเด็กกล้าถาม เด็กจะมีความมั่นใจ ฉลาด แสดงความคิดเห็นถูกจังหวะ เรียหว่ามีความฉลาดทั้งทางปัญญา( IQ)และฉลาดทางอารมณ์ ( EQ)ด้วย  นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็วเด็กจะได้ยินได้ฟังรูปประโยค การใช้ภาษา ทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนนั้นๆนิทานทำให้เด็กจับประเด็นเก่ง วิเคราะห์เก่งนิทานสร้างให้เด็กมีจินตนาการ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 7  กันยายน  2555

วันนี้อาจารย์แจกแผ่นประดิษฐ์อักษรสำเร็จและสีไม้ คนละ 1 กล่อง
อาจารย์สรุป เรื่องของภาษา เริ่มจากการสังเกตของเด็ก การสัมภาษณ์เด็ก และการวิเคราะห์ทางภาษา (ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร)
สื่อที่ใช้ : ส่งเสริมทางภาษา ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย
มุมประสบการณ์ทางภาษา ก็จะมี เช่น รูปภาพ นิทาน บัตรคำ
การส่งเสริมทางภาษามี 4 ด้านคือฟัง พูด อ่าน เขียน
ฟัง = เทปอัดเสียงนิทาน เสียงเพลง
พูด = หุ่นมือ (เด็กพูดกับหุ่นมือ)
อ่าน = หนังสือนิทาน
เขียน = กระดาษใส่กล่อง หรือกระดานขนาดเล็ก
มุมประสบการณ์ทางภาษาต้องการความเงียบสงบ ดังนั้นมุมที่ไม่ควรอยู่ใกล้ คือ มุมบล็อก
บูรณาการทางภาษาผ่านชีวิตประจำวัน 6 กิจกรรม มีดังนี้
-การทักทายคุณครู ก่อนเข้าโรงเรียน
เซ็นชื่อ/ลงชื่อ
-กิจกรรมหน้าเสาธง(สวดมนต์ไหว้พระ)
-เข้าห้องทำกิจกรรม วันจันทร์ = กิจกรรมเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์  
วันอังคาร = กิจกรรมของรัก-ของหวง
วันพุธ = กิจกรรมโฆษณา
วันพฤหัสบดี = กิจกรรมประชาสัมพันธ์
วันศุกร์ = เล่าข่าว(สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเช้า)
กิจกรรมการเคลื่อนไหว = ร้องเพลง/ทำท่าประกอบ
กิจกรรมศิลปะ = วาดภาพแทนคำพูด
กิจกรรมเสริมประสบการณ์(ขั้นนำ/ขั้นสอน/ขั้นสรุป) = ร้องเพลง/นิทาน/ประสบการณ์เดิม/เกม/คำคล้องจอง/การใช้คำถาม/ปริศนาคำทาย
กิจกรรมกลางแจ้ง = กติกา/ข้อตกลงต่างๆ
กิจกรรมเกมการศึกษา = จิ๊กซอ/โดมิโน/จับคู่/เรียงลำดับเหตุการณ์/ล็อตโต/ความสัมพันธ์สองแกน/อนุกรม
กิจกรรมสร้างสรรค์ = เช่น แต่งคำขวัญเกี่ยวกับ เหล้า



วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมร้องเพลง

สัปดาห์ที่  12

วันที่  31 สิงหาคม  2555
                                     
 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มออกไปร้องเพลงที่แต่งมาพร้อมทำท่าประกอบ
เพลงกลุ่มของดิฉัน แต่งเพลง มาเดินด้วยกัน


 อาจารย์ให้เพื่อนที่อยู่กลุ่มปฏิทินด้วยกัน แต่ งคำขวัญ   ชวนเลิกเหล้า…………..  มีดังนี้
1)   กลุ่มอักษรกลาง สระอา   พ่อจ๋าเลิกเหล้าเลิกจน  ครอบครัวเป็นสุข
2)   กลุ่มอักษรสูง สระอี     ดูสิ!! เลิกเหล้าชีวิตสดใส ครอบครัวเป็นสุข
3)   กลุ่มอักษรต่ำ สะแอะ   ดูสิ!!กินเหล้าแล้วเมา กินข้าวดีกว่า
4)   กลุ่มอักษรกลาง สระอิอี   กอดเหล้ามันแย่ กอดแม่ดีกว่า
5)   กลุ่มอักษรต่ำ สระอา   หยุดดื่มหยุดเมา  ทุกข์เราจะไม่มี
6)   กลุ่มอักษรต่ำ สระโอะโอ   คุณค่ะ!!  กีฬาสร้างชีวิต  เหล้าเบียร์สร้างปัญหา    
7)   กลุ่มอักษรกลาง สระอุอู   พี่พี่!! เลิกเหล้าวันนี้  เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า
8)   กลุ่มอักษรกลาง สระแอะเอ   ผัวขา!! เลิกเหล้าเพื่อครอบครัว ดีกว่าเสียตัวไปมัวเมา
9)   กลุ่มอักษรสูง สระอะอา   เลิกเหล้า  เลิกจน
10)  กลุ่มอักษร สระ    START  ลด ละ เลิกเหล้า  เพื่อเราเพื่อชาติ
11)  กลุ่มอักษร สระ      -
12)  กลุ่มอักษรกลาง สระโอะโอ   คอนเฟริม!! เลิกเหล้าเข้าใจชีวิต  มวลมิตรจะสุขใจ
13)  กลุ่มอักษรสูง สระอุอู   ฟันธง!! เลิกเหล้า แล้วชีวิตจะพ้นจากโรคภัย
14)  กลุ่มอักษรสูง สระโอะโอ (2)   เลิกเหล้ากันเถอะ
15)  กลุ่มอักษรกลาง สระเอะอา   คุณแม่!! ขอร้องโตมาด้วยน้ำนมแม่อย่าให้มันแย่เพราะน้ำเมา
16)  กลุ่มอักษรต่ำ สระอุอู   ดื่มเหล้าตับแข็ง  เสียทั้งแรงเสียทั้งเงิน
              การบ้านสัปดาห์หน้า…………อาจารย์จะให้เล่านิทานสัปดาห์หน้า เนื่องจากเวลาไม่พอ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สื่อปฏิทิน









ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสื่อปฏิทิน
        สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกันขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกันทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจและช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม



ประดิษฐ์กิจกรรมดอกไม้จากกระดาษสี





         ประโยชน์ที่ได้รับจากการประดิษฐ์ดอกไม้............จากที่ดิฉันได้มาประดิษฐ์ดอกไม้ ได้รู้วิธีการประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษสีและเทคนิคการจัดดอกไม้ให้สวยงามคะ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 11


วันที่ 24 สิงหาคม 2555


-อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุยมันมีอะไร  แล้ววิเคราะห์ว่าฟังแล้วมันให้อะไร  วัตถุประสงค์คืออะไร  และเราฟังแล้วรู้สึกอย่างไร  พูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวคือเกาะสมุย  เชิญชวนให้คนมาเที่ยวเกาะสมุยและฟังแล้วทำให้เรารู้สึกอยากไปตามที่เนื้อเพลงได้กล่าวถึง...
-อาจารย์ยกตัวอย่าง
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน  เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด
     เมื่อคุณครูเล่านิทานจบ  แล้วให้เด็กออกมาเล่า เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่องราว  เด็กออกมาเล่าทำให้เกิดการแปลความ  ตีความ  คาดคะเน  และเก็บประเด็นสำคัญแล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราวและพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ  ซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษา
     เด็กแสดงละคร  ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสม
     เด็กได้ประดิษฐ์รูปช้าง  ทำให้เด็กรู้จักการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน  เชื่อมโยงกับสิ่งที่เล่ามา  ได้ทำงานแบบร่มมือและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
     เด็กได้ไปทัศนศึกษาที่เขาดิน  ทำให้เด็้กได้ใกล้ชิดกับสิ่งที่เป็นจริงแล้วเกิดการเปรียบเทียบสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่อยู่ในนิทาน  เกิดการวิเคราะห์  แยกแยะ
     เด็กได้เต้นประกอบเพลงช้าง  ส่งเสริมพัฒนาการทางด้่านร่างกาย
ซึ่งตัวอย่างที่กล่าวมาก็เป็นการเรียนแบบการบูรณาการนั่นเอง

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้แต่ละกลุ่มแต่งเพลงเกี่ยวกับอะไรก็ได้  
     ต้องมีเนื้อเพลง(เขียนลง Power Point)  ทำนองเพลง(เพลงอะไรก็ได้)  พร้อมทำท่าทางประกอบ
-เล่านิทาน  โดยเล่าไปฉีกไป  กำหนดเรื่องขึ้นมาเอง
สัปดาห์ต่อไปแสดง  พร้อมเริ่มทยอยส่งงานทุกชิ้นได้

......................................................